ประวัติ
เดอะวอลต์ดิสนีย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) ในชื่อ "ดิสนีย์บราเธอส์คาร์ตูนสตูดิโอ" (Disney Brothers Cartoon Studio) โดยสองพี่น้องดิสนีย์ วอลต์ ดิสนีย์ และ รอย ดิสนีย์ หลังจากที่ทั้งคู่ได้ทำสัญญากับเอ็ม. เจ. วิงเกลอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ในฮอลลีวูด โดยซ็นสัญญาการ์ตูนชุด อลิซคอเมดีส์ (Alice Comedies) ที่วอลต์ได้เริ่มทำเมื่อสมัยที่ทำภาพยนตร์ที่แคนซัสซิตี หลังจากบริษัทก่อตั้งได้ระยะหนึ่ง บริษัทได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ" (Walt Disney Studio)
หลังจากสี่ปีที่ได้เปิดบริษัทมา วอลต์มีไอเดียสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้แก่ ออสวอลด์ เดอะ ลักกีแรบบิต (Oswald the Lucky Rabbit) แต่ทว่าเมื่อผ่านไปหนึ่งปี ทางผู้จัดจำหน่ายได้หยุดการให้ทุนวอลต์ดิสนีย์ แต่ได้นำตัวละครออสวอลด์ไปสร้างต่อกับบริษัทอื่นแทน ทำให้วอลต์จำเป็นต้องหาทุนถ่ายทำใหม่รวมถึงสร้างตัวละครการ์ตูนขึ้นมาใหม่ วอลต์ได้นำหนูมาเป็นตัวละครและตั้งชื่อให้ว่า มอร์ติเมอร์ (Mortimor) แต่ภรรยาของเขาแนะนำให้ใช้ชื่อ มิกกี (Mickey) แทน ซึ่งในตอนที่สามของการ์ตูนชุดในชื่อ สตีมโบตวิลลี (Steamboat Willie) นี้ วอลต์ได้นำเสียงประกอบมาใช้ในการ์ตูน และ ได้ออกฉายเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ที่โรงละครโคโลนีในนิวยอร์ก ซึ่งได้รับการต้อนรับมากมายจากผู้ชมและนักวิจารณ์ ซึ่งเป็นก้าวแรกของความสำเร็จของวอลต์ดิสนีย์ ต่อมาวอลต์ได้สร้างการ์ตูนชุดใหม่ในชื่อ ซิลลีซิมโฟนีส์ (Silly Symphonies) โดยฟลาเวอรส์แอนด์ทรีส์ในชุดนี้เป็นการ์ตูนรื่องแรกของดิสนีย์ที่ได้รับรางวัลออสการ์ในปี พ.ศ. 2498 วอลต์ได้เปิดสวนสนุกในชื่อดิสนีย์แลนด์รีสอร์ต
ปัจจุบัน เดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ ได้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ทั้งบริษัทแอนิเมชันของตนเอง และ บริษัทที่ดิสนีย์ไม่ได้เป็นเจ้าของ ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในรายชื่อด้านล่างนั้นมาจาก วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอแอนิเมชันสตูดิโอ โดยเริ่มต้น ผลิตภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1923 ต่อมาในปี ค.ศ. 1937 ได้ผลิตภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกคือ สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (Snow White and the Seven Dwarfs) โดยระหว่างปี ค.ศ. 1937 ถึง ค.ศ. 2014 ผลิตภาพยนตร์ทั้งหมด 55 เรื่อง เดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ ได้จัดจำหน่าย ภาพยนตร์แอนิเมชัน ของ พิกซาร์ โดยเรื่องแรกคือ ทอย สตอรี่ เมื่อปี 1995 และก็ได้ซื้อกิจการมาไว้ในครอบครองเมื่อปี 2006 นอกจากนี้ยังสตูดิโออื่นๆ ได้ผลิตหรือจัดจำหน่ายภาพยนตร์ ได้แก่ วอลต์ดิสนีย์เทเลวิชันแอนิเมชัน (ปัจจุบันคือ ดิสนีย์ตูนสตูดิโอ), ทัชสโตนพิกเจอร์ส จัดจำหน่ายภาพยนตร์จากการซื้อลิขสิทธิ์ หรือ บริษัทที่เคยเป็นเจ้าของอย่าง มิราแมกซ์ ในปี 1996 ได้เซ็นสัญญากับ โทคุมะโชเต็ง ได้ลิขสิทธิ์ในการจำหน่าย ภาพยนตร์ที่ผลิตโดย สตูดิโอจิบลิ ทั่วโลก (ไม่รวมทวีปเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นและไต้หวัน และ ไม่รวมภาพยนตร์เรื่อง สุสานหิ่งห้อย ซึ่งไม่ได้จัดจำหน่ายโดย โทคุมะ) โดยเรื่องแรกคือ เจ้าหญิงโมโนโนเกะ ต่อมาก็ได้ลิขสิทธิ์ในการจำหน่ายแผ่นดีวีดีและภาพยนตร์ใหม่ๆ ของจิบลิด้วย ภาพยนตร์เรื่อง Spirited Away ชนะรางวัลภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมในการประกาศผลรางวัลอแคเดมีครั้งที่ 75 เมื่อปี 2002 อย่างไรก็ตาม สตูดิโอจิบลิ นั้นเป็นอิสระจากดีสนีย์ โดยที่ดีสนีย์ไม่ได้ไปควบคุมหรือยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด ภาพยนตร์ทั้งหมดของ จิบลิ ก่อนหน้านี้ จะวางจำหน่ายเป็นดีวีดีในอเมริกาเหนือและในหลายๆ พื้นที่ (ยกเว้นเรื่อง ในความทรงจำที่ไม่มีวันจาง) สตูดิโออื่นทั่วโลกที่จัดจำหน่ายภาพยนตร์ผ่าน วอลต์ดิสนีย์พิกเจอร์ส จะรักษาสิทธิในการจำหน่ายในบางพื้นที่
การ์ตูนดังของดีสนีย์
สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (อังกฤษ: Snow White and the Seven Dwarfs) คือภาพยนตร์อเมริกาออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2480 มีโครงเรื่องจากนวนิยายเรื่อง สโนว์ไวต์ ผลงานการประพันธ์ของพี่น้องตระกูลกริมม์ เป็นการผลิตในรูปแบบภาพยนตร์การ์ตูนเต็มรูปแบบครั้งแรกของวอลท์ดิสนีย์ และเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์อเมริกา
ปิน็อกกีโอ เป็นวรรณกรรมเยาวชนภาษาอิตาเลียน ผลงานของ การ์โล กอลโลดี (Carlo Collodi) นักประพันธ์ชาวอิตาเลียน ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1880 เรื่องปิน็อกกีโอนี้ ได้กลายมาเป็นเรื่องอ่านเล่นคลาสสิกสำหรับเด็ก และแพร่หลายอย่างกว้างขวาง โดยมีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ เผยแพร่ไปทั่วโลก ทั้งยังมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากกว่า 20 ครั้ง โดยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดนั้น เป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวของ วอลต์ ดิสนีย์ (Walt Disney) ส่วนที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ได้แก่ภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดงในปี ค.ศ. 2002 กำกับและแสดงโดย Roberto Benigni ในชื่อเรื่อง พินอคคิโอ ฅนไม้ผจญภัย
โฉมงามกับเจ้าชายอสูร (ฝรั่งเศส: La Belle et la Bête) เป็นนิทานโบราณดั้งเดิม ฉบับแรกซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส ประพันธ์โดย มาดามGabrielle-Suzanne Barbot de Villeneuve ใน พ.ศ. 2283 ฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุด คือฉบับที่ได้รับการย่อเรื่องของมาดาม Villeneuve ใน พ.ศ. 2299 โดย มาดามJeanne-Marie Leprince de Beaumont ฉบับภาษาอังกฤษฉบับแรกได้ออกมาใน พ.ศ. 2300
หลากหลายฉบับของนิทานเรื่องโฉมงามกับเจ้าชายอสูร ได้เป็นที่รู้จักดีในยุโรป ยกตัวอย่าง ในประเทศฝรั่งเศส Zémire et Azor เป็นฉบับโอเปราของนิทานเรื่องนี้ ประพันธ์โดย Marmontel และจัดการบรรเลงโดย Grétry ใน พ.ศ. 2314 ฉบับโอเปรานี้ได้รับชื่อเสียงอย่างมากในศตวรรษที่ 19.ฉบับนี้เป็นฉบับที่ใช้โครงร่างของฉบับมาดาม Jeanne-Marie Leprince de Beaumont
ทอย สตอรี่ (อังกฤษ: Toy Story) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกของ พิกซาร์ ที่ทำมาจาก คอมพิวเตอร์ ทั้งหมด จากประเทศสหรัฐอเมริกา ออกฉายในปี 2538 จัดจำหน่ายโดย วอลต์ ดิสนีย์ พิกเจอส์ กำกับโดย จอห์น แลสเซทเตอร์ พากย์โดย ทอม แฮงส์, ทิม อัลเลน, ดอน ริกเกิลส์, Blake Clark, Wallace Shawn และ John Ratzenberger มีภาคต่อคือ ทอย สตอรี่ 2 และ ทอย สตอรี่ 3 ทอย สตอรี่ ได้รับรางวัลออสการ์พิเศษเรื่องนี้และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์ 3 สาขา รางวัลลูกโลกทองคำอีก 2 สาขา ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยาว 81 นาที ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 354,300,000 ล้านเหรียญ งบประมาณ 30 ล้านเหรียญ นอกจากจะเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันแล้วย้งเป็น ละครเวที ชื่อว่า ทอย สตอรี่: เดอะมิวสิคัล ได้แสดง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ที่ Disney world และ จะกลับมาเล่นอีก ในต้นปี 2011
ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ หรือ โฟรเซน (อังกฤษ: Frozen เป็นภาพยนตร์เพลงแนวแฟนตาซี-คอเมดีประเภทคอมพิวเตอร์แอนิเมชันสามมิติในปี พ.ศ. 2556 อำนวจการสร้างโดยวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์และจัดจำหน่ายโดยวอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส. ภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าเรื่องราชินีหิมะของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน นับเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ห้าสิบสามของภาพยนตร์ในชุดแอนิเมชันคลาสสิกของวอร์ตดิสนียโฟรเซนเปิดรอบปฐมทัศน์ที่โรงภาพยนตร์เอลแคปิตันเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 และออกฉายเป็นการทั่วไปในวันที่ 27 พฤศจิกายน โดยได้รับเสียงวิจารณ์ในแง่บวกอย่างล้นหลามทั้งจากนักวิจารณ์และผู้ชม นักวิจารณ์บางคนเห็นว่าโฟรเซนเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันและภาพยนตร์เพลงที่ดีที่สุดตั้งแต่ยุคฟื้นฟูของดิสนีย์ภาพยนตร์ยังทำรายได้อย่างล้นหลาม ได้รับรายได้กว่า $1.2 พันล้านทั่วโลก โดยเป็นรายได้จากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา $400 ล้าน และอีก $247 ล้านในญี่ปุ่น ได้รับการขนานนามว่าเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล, ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาลลำดับห้า, ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปี 2556 และภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดตลอดการลำดับสามในญี่ปุ่น โฟรเซนได้รับรางวัลออสการ์ ในสาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม และในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลงเล็ทอิทโก), รางวัลลูกโลกทองคำสาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม รางวัลบาฟต้าสาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม รางวัลแอนนีห้ารางวัล (รวมทั้งภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม) และรางวัลนักวิจารณ์คัดสรรในสาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม และเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลงเล็ทอิทโก)
ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ (อังกฤษ: Tangled) เป็น ภาพยนตร์เพลงแนวตลกและเพ้อฝันสัญชาติอเมริกัน วอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์สร้างด้วยคอมพิวเตอร์แอนิเมชันเมื่อ พ.ศ. 2553 และเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันซึ่งฉายในโรงภาพยนตร์เป็นลำดับที่ 50 ของวอล์ดิสนีย์ มีเนื้อหาอิงเทวนิยายเยอรมันเรื่อง ราพันเซล (Rapunzel) ของพี่น้องกริม อย่างหยาบ ๆ และในภาคภาษาอังกฤษนั้น แมนดี มัวร์, ซาชารี เลวี และ ดอนนา เมอร์ฟีย์ ให้เสียงตัวละครเด่น ๆ [4]
เดิมชื่อภาษาอังกฤษของภาพยนตร์นี้คือ Rapunzel แต่ก่อนออกฉายเล็กน้อยได้เปลี่ยนเป็น Tangled ภาพยนตร์นี้ฉายในโรงภาพยนตร์ระบบสามมิติเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 ส่วนในประเทศไทย ฉายเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554[5]การจัดสร้างภาพยนตร์ใช้เวลาถึงหกปี และแอลเอไทมส์รายงานว่า ใช้ทุนไปราว ๆ สองร้อยหกสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ใช้จ่ายเงินไปมากที่สุดทีเดียว
นีโม...ปลาเล็กหัวใจโต๊...โต หรือ ไฟน์ดิงนีโม (อังกฤษ: Finding Nemo) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชัน จากค่ายพิกซาร์ เริ่มออกฉายเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 (สำหรับในประเทศไทยเริ่มออกฉายเมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2546)
ภาพยนตร์ได้รับคำวิจารณ์ในแง่ดี และได้ชนะเลิศรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 76
ภาพยนตร์ได้รับการเปิดตัวครั้งแรก ณ วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ส่วนในระบบวีเอชเอสและดีวีดีได้รับการเปิดตัว ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 และเปิดตัวในรูปแบบบลูเรย์ดิสก์ที่บางแห่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 หลังจากความสำเร็จในการเปิดตัว เดอะ ไลอ้อน คิง อีกครั้งในรูปแบบ 3 มิติ ดิสนีย์และพิกซาร์ จึงได้ประกาศการเปิดตัว นีโม...ปลาเล็กหัวใจโต๊...โต อีกครั้งในรูปแบบ 3 มิติ ซึ่งมีแผนเปิดตัวในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2012
มิกกี้ เมาส์ (อังกฤษ: Mickey Mouse) เป็นตัวละครการ์ตูนที่ครองใจเด็กๆทั่วโลก มีลักษณะเป็นหนูสีดำ สวมกางเกงเอี๊ยมสีแดง ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 โดยวอลต์ ดิสนีย์ และอับ ไอเวิร์กส ให้เสียงโดยวอลต์ ดิสนีย์
จุดกำเนิดของมิกกี้ เมาส์ เกิดขึ้นขณะที่วอลต์ ดิสนีย์ นั่งอยู่บนรถไฟระหว่างทางมุ่งสู่ลอสแอนเจลิส เขาลงมือสเก็ตช์ภาพคาแรกเตอร์หนูเล็ก ๆ สวมกางเกงสีแดง ขึ้นมา โดยมีอับ ไอเวิร์กส ออกแบบรูปร่างลักษณะ การ์ตูนเสียงเรื่องแรก "เรือกลไฟวิลลี่" (Steamboat Willie) เข้าฉายครั้งแรกที่ มอสส์โคโลนี่เธียเตอร์[2] โดยทางนิวยอร์กไทม์เขียนไว้ว่า "เป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์เยี่ยมยอดและสนุก"
บุคลิกของมิกกี้ เมาส์ คือ มองโลกในแง่ดี มีความกระตือรือร้น ถ่อมตัวและเรียบง่าย ซื่อสัตย์ ชอบร้องอุทาน "Gosh" หรือบางครั้งก็ "Oh boy!", "Aw-Gee" ,"Uh-Oh!" ชอบอ่าน Newsweek, time, Life, National Geographic, Good Housekeeping มีหวานใจชื่อว่ามินนี่เมาส์ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนที่ครองใจเด็กๆทั่วโลกเช่นกัน นอกจากนี้มิกกี้เมาส์ยังมีสุนัขสีน้ำตาลแสนรัก ชื่อว่า พลูโตที่เป็นสุนัขที่ซื่อสัตย์ ฉลาดและแสนรู้
ลักษณะเด่นของ มิกกี้ เมาส์ เป็นเพียงหนูตัวเล็ก ๆ หูกลมใหญ่สีดำ แขนขาเล็กมาก สวมกางเกงเอี๊ยมสีแดง รองเท้าสีเหลือง มีบุคลิกที่มีความอดทน อดกลั้น ฉลาดหลักแหลม มองโลกในแง่ดี และกล้าหาญ ที่สำคัญ มิกกี้ เมาส์ มีสัญชาตญาณพิเศษในเรื่องของการสืบสวนสอบสวน และด้วยบุคลิกที่โดดเด่นในแง่นี้เองทำให้ตัวการ์ตูนตัวนี้ชอบที่จะใช้เหตุผลเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้กำลังเข้าสู้ จนสามารถเอาชนะศัตรูที่มีร่างกายที่แข็งแรงกว่า ทำให้ มิกกี้เมาส์ สามารถเป็นที่รักและครองหัวใจของเด็ก ๆ และผู้คนทั่วโลกได้เป็นเวลาหลายทศวรรษ
หมีพูห์ หรือ วินนี-เดอะ-พูห์ (Winnie-the-Pooh) เป็นตัวละครหมีที่สร้างขึ้นโดย เอ. เอ. มิลน์ และตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1926 ในหนังสือเรื่อง วินนี-เดอะ-พูห์ และ เดอะเฮาส์แอตพูห์คอร์เนอร์ (1928) เนื้อเรื่องในหนังสือมีลักษณะคล้ายกับ ป่าแอชดาวน์ ในเมืองอีสต์ซัซเซก ในประเทศอังกฤษ โดยชื่อ วินนี มาจากชื่อตุ๊กตาหมีของทหารชาวแคนาดานายหนึ่ง ซึ่งตั้งตามชื่อเมือง วินนีเพก ในประเทศแคนาดา
นอกจากหมีพูห์แล้วเพื่อนในป่าที่ได้รับความนิยมได้แก่ พิกเลต ทิกเกอร์ แร็บบิท และ อียอร์ ต่อมา วอลต์ดิสนีย์ ได้นำวินนี-เดอะ-พูห์ มาจัดทำและได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น Winnie the Pooh (โดยไม่มีเครื่องหมายขีด) และหมีพูห์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของดิสนีย์
No comments:
Post a Comment